เทคนิคการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

เน้นการมีส่วนร่วมในการสร้างความสัมพันธ์ และการสร้างพื้นที่ ที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและการสนับสนุนระหว่างกันในชุมชน

เทคนิคการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
1. จัดอาหารให้ครบ 5 กลุ่ม กลุ่มข้าว-แปูง กลุ่มผัก กลุ่มผลไม้ กลุ่มเนื้อสัตว์ กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์นม
แต่ละกลุ่มให้หลากหลาย ในสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสม
2. เลือกข้าวไม่ขัดสีเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแปูงเป็นบางมื้อ (ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน วุ้นเส้น)
3. เลือกปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง มาปรุงประกอบอาหารเป็นประจํา
4. จัดเมนูผักให้มีความหลากหลายสีและสลับชนิดกันไป จะช่วยทําให้อาหารมีสีสันให้น่ารับประทาน
5. จัดผลไม้มื้อละ 1 ส่วน เลือกผลไม้รสไม่หวานจัด
6. จัดให้ดื่มนมรสจืด วันละ 1-2แก้ว และจัดอาหารแหล่งแคลเซียม เช่น ผักใบเขียวเข้ม ปลาเล็กปลาน้อย
เต้าหู้แข็ง
7. ควรหั่นเป็นชิ้นขนาดเล็ก เพื่อง่ายต่อการเคี้ยวและย่อย เลือกอาหารชนิดอ่อนนุ่ม หรือทําให้อ่อนนุ่ม
ด้วยการต้ม นึ่ง ลวก
8. ในกรณีที่กินมื้อหลักได้ไม่เพียงพอ อาจจัดให้กินครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง แบ่งเป็นมื้อย่อยๆ
วันละ 5-6 มื้อ
9. ลดการปรุงอาหารรสจัด ลดการใช้เครื่องปรุงรส หวาน มัน เค็ม ใช้สมุนไพรในการปรุงแต่งเพื่อเพิ่ม
รสชาติ ให้ลด/เลี่ยงการจัด อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป
10. ปรุงอาหารสุกใหม่ เลือกปรุงประกอบอาหารด้วยวิธีลวก ต้ม นึ่ง อบ เป็นส่วนใหญ่ จัดเมนู ผัด และ
แกงกะทิแต่พอควร เลี่ยงอาหารทอด
11. จัดให้ผู้สูงอายุดื่มน้ําสะอาดวันละ 8 แก้ว เลี่ยงการจัดเครื่องดื่มชา กาแฟ ในช่วงเย็นถึงค่ํา
12. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกําลัง และงดสูบบุหรี่
13. หมั่นร่วมรับประทานอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัว สร้างความอบอุ่นทางจิตใจให้ผู้สูงอายุ

พบกันเร็ว ๆ นี้ #รามอินทรา28 #กรุงเทพมหานคร #AYUX #ดูแลผู้สูงอายุ #agingwithhcare
#ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลคนที่คุณรัก #สุขภาพดีมีพลัง #ActiveAgeing #AYUXHolisticCare 

Share:

More Posts

แนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ : สุขภาพผู้สูงอายุไทย ความท้าทายและแนวทางดูแลที่ยั่งยืน

เน้นการมีส่วนร่วมในการสร้างความสัมพันธ์ และการสร้างพื้นที่ ที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและการสนับสนุนระหว่างกันในชุมชน

Send Us A Message